วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ที่มาของคำว่า " ไอยคุปต์ "

Tourist     Map   of    Egypt
           อียิปต์เป็นดินแดนปริศนาของโลกที่ชวนหลงใหลและน่าศึกษาอย่างมากแห่งหนึ่ง  คนไทยเรียกหรือรู้จักอียิปต์โบราณในนามว่า " ไอยคุปต์ "
ที่มาของคำว่า "ไอยคุปต์"  ในภาษากรีก
           ในวิกิพีเดีย  สารานุกรมเสรี  เขียนถึงที่มาของไอยคุปต์เอาไว้ว่า ที่มาของคำว่า "ไอยคุปต์ " น่าจะมาจากการทับศัพท์คำภาษากรีกว่า  ไอกึปตอส ( Aigyptos )  ซึ่งเป็นชื่อที่คล้ายคลึงกับเทพเจ้าในตำนานปรัมปราของกรีก  สององค์ด้วยกัน  นั่นก็คือ  " ไอกือปิออส " ( Aigypois )   และ  "ไอกึปตอส " ( Aigyptos )
แต่ที่มีความสำคัญเกี่ยวโยงกับอียิปต์ คือ ไอกึปตอส
            ตามตำนานของกรีก  กล่าวไว้ว่า  ไอกึปตอส เป็นผู้ที่ตั้งชื่อแผ่นดินอียิปต์ว่า  ไอกึปตอส  เทพองค์นี้เป็นโอรสของเบลอส  และอันฆินอย  ฝ่ายบิดานั้นสืบตระกูลจากโปเซย์ดอน  ส่วนฝ่ายมารดาสืบตระกูลจากเนลอส เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์   ไอกึปตอสได้ครอบครองดินแดนอารเบีย  ซึ่งเรียกว่า
เมลัมโปเดส ( Melumpodes = เท้าสีดำ ) ครั้นภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ไอกึปตอส
            นอกจากแนวทางการวิเคราะห์ดังกล่าว ยังมีผู้วิเคราะห์ศัพท์ ไอกึปตอส ว่ามาจากศัพท์สองคำ  คือ ไอกฺษ , ไอกอส ( aix ,aigos ) เป็นคำนามหมายถึง แพะ กับคำว่า ปตอส ( ptoss) เป็นกริยา หมายถึง นอบน้อม หรือ หวั่นกลัว แต่รวมความหมายแล้วไม่ชัดเจนนักว่าแปลว่าอย่างไร
            ในมหากาพย์โอดิสซี ของโฮเมอร์ เล่มที่ 18 มีกล่าวถึงแม่น้ำไอกึปตอส  เมื่อโอดิสเซอุสเดินทางไปถึงแผ่นดินอียิปต์  แม่น้ำดังกล่าวก็คือ แม่น้ำไนล์นั่นเอง
            ในภาษากรีกยังมีการใช้คำว่า ไอกึปตอส  หมายถึงคนอียิปต์และแผ่นดินอียิปต์ด้วย  ส่วนวิชาอียิปต์วิทยา (หรือไอยคุปต์วิทยา ) มีในภาษากรีกมานานแล้ว โดยใช้คำว่า ไอกึปติออลอเกีย ( Aigyptiologia )  ภาษาละตินใช้ว่า ไอกึปโตโลเกีย ( Aigyptologia ) และในภาษาอังกฤษถอดโดยตรงว่า
Egyptology
ที่มาของคำว่า "ไอยคุปต์"  ในภาษาละติน
            ในภาษาละตินยังมีคำศัพท์เรียก อียิปต์ว่า  ไอกึปตุส , ไอกึปตี  ซึ่งนอกจากแผ่นดินอียิปต์แล้ว ยังหมายถึงกษัตริย์อียิปต์ในตำนานพระองค์หนึ่ง  นอกจากนี้ยังมีคำศัพท์เชื่อมโยง  กล่าวถึงภาษาอียิปต์ไว้ว่า "ลิงกัว  ไอกึปติอาคา "
ที่มาของคำว่า  " ไอยคุปต์ " ในภาษาอียิปต์
             นักภาษาโบราณเสนอคำว่า  " ไอกึปตอส " น่าจะได้เค้ามาจากภาษาอียิปต์โบราณ  จากคำว่า ฮิ-คุป-ตาฮ  ( Hi - kup - tah ) หรือ ฮา - คา-ปตาส ( Ha-ka -ptah ) ซึ่งถอดจากอักษรภาพ มีความหมายว่า เทพเจ้าคา  แห่งปตาฮ์  อันเป็นอีกชื่อหนึ่งของเมืองเมมฟิส    คำดังกล่าวมีปรากฎในศิลาจารึกโรเซตตาสโตน  ( Rosetta  Stone ) ที่พบ ณเมือง โรเซตตาด้วย
ที่มาของคำว่า "ไอยคุปต์" ในภาษาไทย
             ไอยคุปต์ในภาษาไทยนั้น ไม่ปรากฎหลักฐานว่ามีการใช้คำ " ไอยคุปต์ " ในภาษาไทยมาช้านานเีพียงใด  กาญจนาคพันธุ์  เขียนเอาไว้ในภูมิศาสตร์วัดโพธิ์ว่า  " ในสมัยรัชกาลที่ 6 เคยเรียก    Egypt เป็น " ไอยคุปต์ ' นับว่าเข้าท่าดี " ซึ่งก็ไม่ชัดเจนว่า คำนี้เข้ามาเมื่อใด
             แต่มีการกล่าวถึงชัดเจน  คือ พจนานุกรมไทย ของมานิต มานิตเจริญ อธิบายไว้ว่า " ไอยคุปต์ น่าจะหมายถึง  อียิปต์ "
            แต่อย่างไรก็ตามที่ชัดเจนที่สุดน่าจะเป็นข้อทักท้วงและเสนอแนะของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่แสดงพระราชนิยมเกี่ยวกับการใช้คำศัพท์เรียกชื่อทางภูมิศาสตร์  เมื่อราวปี พ.ศ. 2465 ดังนี้
" นามประเทศ อิยิปต์  รักให้เรียก ไอยคุปต์ ตามแบบหนังสือสันสกฤต"
            ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า คำว่า ไอยคุปต์นี้ น่าจะเริ่มเรียกกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 นั้นเอง ซึ่งข้อความดังกล่าวแสดงว่าทรงนิยมให้ใช้ " ไอยคุปต์ " แต่ประเด็นที่ว่าตามแบบหนังสือสันสกฤตนั้น ไม่ชัดเจนว่าหมายถึงอย่างไร  เนื่องจากในพจนานุกรมภาษาสันสกฤตเท่าที่ปรากฎให้เห็นในปัจจุบัน ระบุชื่ออียิปต์ว่า "มิสรเทศ " (สอดคล้องกับคำที่ภาษาอื่นๆในตระกูลภาษาอาหรับใช้เรียกชื่อประเทศอียิปต์)
อย่างไรก็ตามอาจมองได้ว่า "ตามแบบหนังสือสันสกฤต ในที่นี้ หมายถึง "รูปลักษณ์ของคำ " นั่นคือ "หนังสือ" ในประโยตค ก็คือ "ตัวหนังสือไทยที่เขียนแล้วดูเหมือนคำสันสกฤต "  เป็นไปได้ว่า พระองค์ทรงเห็นว่า การเขียน "ไอยคุปต์ " จะทำให้มีรูปลักษณ์ที่คล้ายๆกับคำสันสกฤต
            ยังมีชื่ออียิปต์ อีกชื่อหนึ่งที่คนไทยเรียกและน่าสนใจ นั้นก็คือ คำว่า "ยิบเซ็นอ่าน " ซึ่งปรากฎชื่อนี้ในโคลงจารึกวัดโพธิ์ว่า " ยิปเซ็นอ่าน   ชื่อชี้  ชาติแสดง /ทำเนียบทำนองอังกฤษใช้ " ซึ่ง กาญจนาคพันธุ์อธิบายว่า เข้าใจว่ามาจากภาษาอังกฤษนั่นเอง
            เป็นอันว่า ไม่ว่าจะเป็นไอยคุปต์ ยิบเซ็นอ่าน หรือ อียิปต์ ล้วนแแล้วแต่ คือ อียิปต์ด้วยกันทั้งสิ้น

ที่มาจาก
-อนันตชัย  จินดาวัฒน์ .ตามรอยอารยธรรม  ตอน กำเนิดอารยธรรมโบราณ.สำนักพิมพ์ ยิปซี.พิมพ์ครั้งที่ 2.ปีที่พิมพ์ 2555.หน้า26-28.

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อียิปต์ : ของขวัญแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์

                   ความเจริญของมนุษย์นั้น  ย่อมมีส่วนเกี่ยวข้องกับภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติอยู่เป็นอันมาก   อิยิปต์อาศัยความสมบูรณ์ของแม่น้ำไนล์จึงเจริญได้ยาวนาน  ในสมัยโบราณอียิปต์ใช้แม่น้ำไนล์ในการดำรงชีวิตอยู่
                   อียิปต์เป็นประเทศที่มีอากาศร้อน และแห้งแล้ง ฝนตกเพียงเล็กน้อยในฤดูหนาวและตกเฉพาะบริเวณเดลต้า (ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ )  อียิปต์ได้อาศัยความชุ่มชื้นจากแม่น้ำไนล์เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต  ถเาขาดแม่น้ำไนล์อียิปต์ก็ไม่แตกต่างกับทะเลทรายที่ร้อนระอุ  เฮโรโดตัส
( Herodotus ) นักประวัติศาสตร์กรีกโบราณได้กล่าวไว้ว่า  " Egypt is the  Gift  of the Nile "  (อียิปต์เป็นของขวัญจากแม่น้ำไนล์ ) คำกล่าวนี้จึงเป็นความจริงอย่างยิ่ง  กล่าวคือ  ในราวเดือนกรกฎาคมของทุกๆปี  น้ำในแม่น้ำไนล์จะไหลท่วมท้นฝั่งทั้งสองและจะเริ่มลดลงในเดือนตุลาคมลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน   เมื่อน้ำลดลงแล้วจะทิ้งโคลนตมไว้ตามบริเวณสองฝั่งลำน้ำ  โคลนตมเหล่านี้เป็นปุ๋ยซึ่งเมื่อเพาะปลูกแล้วจะให้ผลดีอย่างมาก  ชาวอียิปต์โบราณยังรู้จักวิธีการทำนา  ทำนบกั้นน้ำ  ขุดคูส่งน้ำลำเลียงเข้าไปในดินแดนซึ่งอยู่ลึกเข้าไปจากฝั่งเป็นการขยายพื้นที่ประกอบการกสิกรรมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น   ประเทศอียิปต์ในสมัยโบราณประกอบด้วยบริเวณที่สำคัญ  2  บริเวณ คือ

ภาพที่ตั้งของอียิปต์บน  และอียิปต์ล่าง

Upper Egypt จะหมายถึงทางทิศใต้ของประเทศอียิปต์ (ยึดต้นน้ำเป็นหลัก)
                    1.อียิปต์บน (  Upper  Egypt  )   ได้แก่  บริเวณที่แม่น้ำไนล์ไหลผ่านหุบเขา   มีความยาวประมาณ  500  ไมล์  ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ตอนนี้เป็นผาลาดกว้างไปจนสุดสายตาเต็มไปด้วยเนินเขาที่แห้งแล้ง


                    2.อียิปต์ล่างหรืออียิปต์ต่ำ  (  Lower  Egypt  )  ได้แก่  บริเวณที่แม่น้ำไนล์แตกสาขาออกเป็นรูปพัด  ไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน   บริเวณนี้ชาวกรีกโบราณ  เรียกว่า เดลต้า ( Delta ) เป็นบริเวณปลายสุดของลำน้ำ  มีความยาวประมาณ  100  ไมล์  อารยธรรมโบราณของอียิปต์ได้เจริญขึ้นบริเวณแถบเดลต้านี้

ที่มาจาก
-รองศาสตราจารย์นันทกา  กปิลกาญจน์. ประัวัติศาสตร์และอารยธรรมโลก. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ .พิมพ์ครั้งที่  9 พ.ศ.2550.หน้า  17.
                 

มหากาพย์อีเลียด

อีเลียดเป็นบทประพันธ์ของโฮเมอร์ (Homer )

                   อีเลียด  ( Iliad )  มาจากชื่อ  Ilium  , Ilion  ซึ่งเป็นชื่ออีกชื่อหนึ่งของทรอย   ( Troy ) มุ่งกล่าวถึงวีรบุรุษในสงครามระหว่างชาวกรีก และชาวทรอย  ( Troy War )  วีรบุรุษคนสำคัญ ชื่อว่า        Achilles
มูลเหตุของสงครามเกี่ยวเนื่องกับเทพเจ้าของกรีกในงานเลี้ยงระหว่างเทพเจ้า   เนื่องในงานสมรส  Eris ไม่ได้รับเชิญแต่ก็มาปรากฎตัวในงานพร้อมด้วยนำแอปเปิ้ลทองคำมาประกาศให้แก่ผู้ที่งามที่สุด  Hera,
Athena  และ Aphrodite ซึ่งมีอีกชื่อว่า Juno  , Minerva และ Venus ตามลำดับ  เป็นผู้ที่มุ่งเข้าแข่งขันกันจะเป็นเจ้าของแอปเปิ้ลทองคำ

Hera
Athena 
Aphrodite
                

และตกลงกันว่าจะให้ Paris เป็นผู้ตัดสิน แต่ละองค์ก็พยายามให้รางวัลคือ   อำนาจ  ความรู้ และหญิงงามที่สุด ต่อมา Paris ได้พบกับ Helen  มเหสีของ King  Meneluas  ของ Sparta  ซึ่งเป็นหญิงงามที่สุดในขณะนั้น และได้ลักพาตัวกลับ Troy  โดยมี Aphrodite เป็นผู้ช่วย  พวกรีกทั้งหลายพากันยกทัพตามมาเพื่อนำตัว Helen  กลับคืน ในบรรดาแม่ทัพมี Ageanmemnon  อนุชาของ Menelaus ผู้เป็นกษัตริย์ของ Mycenae เป็นหัวหน้าสำคัญอยู่ด้วยคนหนึ่ง  การรบติดพันอยู่ถึง 10  ปี ไม่แพ้ชนะกันอย่างเด็ดขาดจนกระทั่งมีการคิดอุบายทิ้งม้าไม้ไว้แล้วทำเป็นถอยทัพกลับ จึงสามารถตีเมืองทรอยได้สำเร็จ
ม้าโทรจัน ที่เมืองชานักกาเล ประเทศตุรกี ที่ตั้งจริงของเมืองทรอยในประวัติศาสตร์

ม้าโทรจันลงมาที่เมืองทรอย
          ม้าโทรจัน
ม้าโทรจันเป็นเคล็ดลับการต่อสู้ไหวพริบ
ทหารกรีกที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้

ที่มาจาก 
-อนันตชัย  จินดาวัฒน์. หนังสือ ตามรอยอารยธรรม  ตอน กำเนิดอารยธรรมโบราณ หน้า 162
สำนักพิมพ์ ยิปซี พิมพ์ครั้งที่ 2 , 2555. ISBN : 978-616-7071-75-6
- อาชา ในหน้าประวัติศาสตร์  จากไทยรัฐ
- หน้า 138-143, ตุรกีสี่ตอน...คอย-ทรอย-หอย-อร่อย!... ตอนที่สอง... ทรอย! โดย จอม ปัทมคันธิน คอลัมน์ Aqua Life. นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 2 ฉบับที่ 26: สิงหาคม 2012